
วันที่ 3 เมษายน 2568 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้แถลงมาตรการภาษีนำเข้าใหม่ที่ทำเนียบขาว โดยระบุว่าเป็น “วันแห่งการปลดแอก” หลังจากที่สหรัฐฯ และประชาชนชาวอเมริกันถูกขูดรีดมานานกว่า 50 ปี มาตรการนี้มีเป้าหมายเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ สร้างรายได้ให้รัฐปีละ 600,000 ล้านดอลลาร์ และสร้างแต้มต่อในการเจรจาการค้าในอนาคต
สาระสำคัญของมาตรการ:
- สหรัฐฯ จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากทุกประเทศขั้นต่ำร้อยละ 10
- ยานยนต์ที่ผลิตจากต่างประเทศทั้งหมดจะถูกเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 25
- มาตรการจะเริ่มมีผลบังคับใช้หลังเที่ยงคืนของวันที่ 5 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ
อัตราภาษีนำเข้าแยกตามประเทศ
เอเชีย
- จีน: ร้อยละ 54% (เดิมร้อยละ 20% บวกกับอัตราใหม่อีกร้อยละ 34%)
- กัมพูชา: ร้อยละ 49%
- ลาว: ร้อยละ 48%
- เวียดนาม: ร้อยละ 46%
- เมียนมา: ร้อยละ 44%
- ไทย: ร้อยละ 36% (ล่าสุดปรับเป็น 37%)
- ไต้หวัน: ร้อยละ 32%
- อินเดีย: ร้อยละ 26%
- เกาหลีใต้: ร้อยละ 25%
- ญี่ปุ่น: ร้อยละ 24%
- มาเลเซีย: ร้อยละ 24%
- สิงคโปร์: ร้อยละ 10%
ยุโรป
- สวิตเซอร์แลนด์: ร้อยละ 31%
- สหภาพยุโรป: ร้อยละ 20%
- สหราชอาณาจักร: ร้อยละ 10%
การตอบโต้จากประเทศที่ได้รับผลกระทบ
- สหภาพยุโรป: ประกาศว่าจะมีมาตรการตอบโต้ในเวลาที่เหมาะสม
- สหราชอาณาจักร: นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ ระบุว่าพร้อมพิจารณาทุกทางเลือก แต่จะใช้วิธีที่สมเหตุสมผลเพื่อรับมือ เนื่องจากสงครามการค้าไม่เป็นประโยชน์กับใคร
- เม็กซิโก: ภาคประชาชนเตรียมรับมือโดยเปิดตัวแคมเปญ “ผลิตในเม็กซิโก” เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมในประเทศ
ข้อมูลจากทางการสหรัฐฯ ระบุว่า เมื่อเดือนมกราคม 2568 สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ามากกว่า 130,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 โดยยอดนำเข้าสินค้าพุ่งสูงทะลุ 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้นำเข้ากักตุนสินค้าก่อนที่มาตรการภาษีใหม่จะมีผลบังคับใช้